วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์  ที่  7  กันยายน  2558
เวลาเรียน  14:30 -17:30 น.


เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ
-ครูสอนบทที่ 3  เรื่อง  การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

         “สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์
– จิตใจ สังคม และสติปัญญา   คุณหญิงเบญจา แสงมลิ
ลักษณะของสื่อ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อ ออกเป็น 3 ประเภท
    1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม
1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย
   1.2.1 สิ่งพิมพ์
   1.2.2 ภาพชุด
   1.2.3 เทปโทรทัศน์
   1.2.4 เทปเสียง
2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
  2.1 เครื่องเสียง
  2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
  2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
  3.1 การสาธิต    
  3.2 การทดลอง  
  3.3 เกม  
  3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
  3.5 การจำลองสถานการณ์    
   3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
  3.7 ทัศนศึกษา    
  3.8กิจกรรมอิสระ   
   3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1. การเลือกสื่อ
       1.1 มีความปลอดภัย
       1.2 คำนึงถึงประโยชน์  
       
       1.3 ความประหยัด
       1.4 ด้านประสิทธิภาพ
2. วิธีการเลือกสื่อ
      2.1 เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
      2.2 เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ
      2.3 เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
     2.4 มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี
     2.5 มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
     1. สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
     2. วางแผนในการผลิต
     3. ดำเนินการผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
     4. ทดสอบคุณสมบัติของสื่อที่ผลิตขึ้น
     5. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จริง
  ขั้นตอนการใช้สื่อ
      1) เตรียมตัวครู
      2) เตรียมตัวเด็ก
      3) เตรียมสื่อ
การนำเสนอสื่อ
     1. สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจ
     2. ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
     3. ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อที่ใช้ ไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
     4. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
     5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
     6. ควรสังเกต หรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ
     1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
     2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
     3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
     4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด
การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
    1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์
    2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
    3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
    4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
    5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด




ประเมินตนเอง
หยุดเรียน

ประเมินเพื่อน
        -
ประเมินอาจารย์
        -



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น